Secondary

Languages

คำถามที่พบบ่อย

1. กรณีมีรายได้ประจำ ใช้สลิปเงินเดือน/หนังสือรับรองเงินเดือนจากหน่วยงาน (ผู้มีอำนาจของหน่วยงานลงนาม) การกรอกรายได้ต้องระบุให้ตรงกับหลักฐานที่แนบและตรงกับข้อมูลที่บันทึกในระบบ
 
2. กรณีไม่มีรายได้ประจำ ใช้แบบฟอร์ม กยศ. 102 
- การกรอกรายได้ต้องระบุข้อมูลให้ตรงกับหนังสือรับรองรายได้ครอบครัวของผู้ขอกู้ยืมเงิน (กยศ.102) และข้อมูลที่บันทึกในระบบ
- สำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ/ข้าราชการ/เอกสารอื่นใดรับรองว่าเป็นข้าราชการจากหน่วยงานที่ผู้รับรองได้สังกัด เจ้าของบัตรลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องด้วยตนเองเท่านั้น

ผู้กู้ยืมสามารถตรวจสอบยอดหนี้ได้ 2 วิธี คือ

 
1. ผ่านช่องทาง Mobile Application "กยศ. Connect" 
2. ผ่านทางเว็บไซต์  https://wsa.dsl.studentloan.or.th

  • ช่องทางและวิธีการชำระหนี้ ...คลิก

ผู้กู้ยืมสามารถตรวจสอบสถานะการโอนเงินของตนเองได้ ดังนี้

1. เว็บไซต์ของกองทุน ตรวจสอบยอดหนี้  https://wsa.dsl.studentloan.or.th/

2. ช่องทางออนไลน์ Mobile Application "กยศ. Connect" 

 

  1. ผู้กู้ยืมเงินต้องชำระเงินกู้ยืม พร้อมทั้งดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดร้อยละ 1 ต่อปี โดยต้องคืน ให้กองทุนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี นับแต่วันที่ต้องเริ่มชำระหนี้
  2. ให้ผู้กู้ยืมเงินชำระหนี้งวดแรก ภายในวันที่ 5 กรกฎาคม หลังจากครบระยะเวลาปลอดหนี้ 
  3. การชำระหนี้งวดต่อๆไปให้ผู้กู้ยืมเงินชำระเงินต้นคืน ตามอัตราผ่อนชำระที่กองทุนกำหนด พร้อมด้วยดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด ในอัตราร้อยละ 1 ต่อปีของเงินต้นที่คงค้าง ภายในวันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี
  4. หากผู้กู้ยืมเงินผิดนัดชำระหนี้ ผู้กู้ยืมเงินจะต้องชำระค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ตามอัตราที่กองทุนกำหนด
  5. ผู้กู้ยืมเงินที่มีความประสงค์จะขอชำระหนี้คืนก่อนครบกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ หรือก่อนครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี สามารถชำระคืนได้โดยไม่เสียดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด

หมายเหตุ
(ก)ให้ผู้กู้ยืมเงินไปติดต่อแสดงตน ขอชำระหนี้ และเลือกวิธีการผ่อนชำระเป็นรายปี หรือรายเดือนกับผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมได้ทุกสาขาก่อนที่จะครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี
(ข)กรณีผู้กู้ยืมเงินยังอยู่ในระหว่างการศึกษา แต่ไม่ได้กู้ยืมในปีการศึกษาใด ต้องแจ้งสถานภาพการศึกษาต่อผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมโดยให้นำใบรับรองจากสถานศึกษา และเลขบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมหมายเลขโทรศัพท์ของผู้กู้ไปแสดงทุกปีจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา

 

การติดต่อกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

สามารถติดต่อได้ที่ ฝ่ายบริหารหนี้ 2

เลขที่ 89 อาคาร เอไอเอ แคปปิตอล เซ็นเตอร์ ชั้น 5-6

ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์ : 02 080 5099

อีเมล : [email protected]

LINE : กยศ.หักเงินเดือน คลิกลิงก์ https://lin.ee/oecrHbM

         กยศ.องค์กรนายจ้าง คลิกลิงก์ https://lin.ee/Hwg0DCW

 

 กยศ.หักเงินเดือน กยศ.องค์กรนายจ้าง 

 

  • กรณีผู้ใช้ถูกระงับบัญชี หรือลืมรหัสผ่าน ให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ ... คลิก
  • หากท่านมีความประสงค์เปลี่ยนแปลง / แก้ไขเบอร์โทรศัพท์ ที่ใช้ในการลงทะเบียน ช่องทาง Mobile Application "กยศ. Connect"  หรือช่องทางเว็บไซต์  https://wsa.dsl.studentloan.or.th ขอให้ทำหนังสือถึงกองทุนเพื่อขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ในการลงทะเบียน กยศ.Connect พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนชน (รับรองสำเนาถูกต้อง) โดยจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์เข้ามาตามที่อยู่กองทุนหรือส่งเอกสารไฟล์ .pdf ทางอีเมล [email protected]

 

การรายงานสถานภาพการศึกษาโดยสถานศึกษา

สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างปี หรือจบการศึกษา สถานศึกษาต้องรายงานสถานภาพ ตามจริง โดยระบบจะมีให้สถานศึกษารายงาน เช่น ศึกษาต่อในสถานศึกษานั้นๆ ผู้กู้ยืมรายเก่าเลื่อนชั้นปีที่ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินในสถานศึกษาปัจจุบัน สำเร็จการศึกษา ลาออก ให้ออก 

 

การรายงานสถานภาพการศึกษาโดยผู้กู้

สำหรับผู้กู้ที่ต้องรายงานจะเกิดจาก กรณีดังนี้

กรณีที่ 1 ผู้กู้ยืมเงินมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างปี เช่น ย้ายสถานศึกษา หรือ ไม่กู้ยืมเงินต่อ

กรณีที่ 2 ผู้กู้ยืมเงินที่ศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่ไม่ได้เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุน 

ดังนั้น  เพื่อรักษาสถานภาพการศึกษา ว่า “กำลังศึกษาอยู่” ระบบDSLจะแจ้งเตือน ให้ผู้กู้มารายงานสถานภาพ เมื่อพบว่าไม่มีการรายงานสถานภาพมาแล้ว 1 ปี (365 วัน) นับจากวันที่รายงานสถานภาพครั้งล่าสุด โดยจะแจ้งเตือนผ่าน Email และ Notification ให้ผู้กู้ยืมเข้าระบบเพื่อรายงานสถานภาพ โดยระบบจะมีให้ดาวน์โหลด กยศ. 204 เพื่อรายงานและลงนามรับรองโดยสถานศึกษาปัจจุบัน และสแกนข้อมูลเข้ามาในระบบ หากยังไม่ถึงระยะเวลา 365 วัน ฟังก์ชันการรายงานสถานภาพจะไม่ขึ้นค่ะ ดังนั้น ผู้กู้ยืมเงินยังไม่ต้องดำเนินการใดๆเพราะรายงานสถานภาพจะไม่มีปุ่มแจ้งเตือน ให้คลิกค่ะ

การส่งรายงานสถานภาพ กยศ.204 
หากผู้กู้ยืมเงินประสงค์รายงานสถานภาพด้วยตนเอง (กยศ. 204)  ผู้กู้ยืมเงินสามารถจัดส่งเอกสารดังกล่าว ไปที่ธนาคารที่ผู้กู้ยืมเงินเปิดบัญชีรับโอนเงินค่าครองชีพ (ธนาคารกรุงไทย และ/หรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย) โดยการส่งไปรษณีย์ไปที่สำนักงานใหญ่   
 
1. บมจ.ธนาคารกรุงไทย  ฝ่ายบริหารโครงการภาครัฐ
อาคารสุขุมวิท ชั้น 14  เลขที่ 10 ถนนสุขุมวิท
แขวงคลองเตย เขตคลองเตย
กรุงเทพมหานคร  10110
 
2. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย  ฝ่ายนโยบายรัฐ
เลขที่ 66 อาคารนวม ชั้น 20 ถนนสุขุมวิท 21 (อโศก)
แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
 
ทั้งนี้ การรายงานสถานภาพด้วยตนเอง (กยศ. 204) ผู้กู้ยืมเงินจะต้องไม่มียอดค้างชำระ

 

แบบรายงานสถานภาพ กยศ.204

กรณีที่ผู้กู้ยืมได้รับคำบังคับจากศาล เนื่องจากผู้กู้ยืมไม่ได้ชำระหนี้จนถูกดำเนินคดีต่อศาล และไม่ได้ไปตามที่ศาลนัด ทำให้ศาลพิพากษาให้ชำระหนี้ทั้งหมดพร้อมทั้งดอกเบี้ยและเบี้ยปรับที่ผิดนัด ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษา พร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลสั่งซึ่งรวมถึงค่าทนายความด้วย (โดยชำระหนี้ที่ บมจ.ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา)

การพิจารณารายได้ต่อครอบครัว ให้พิจารณาจากรายได้รวมทั้งหมดก่อนหักค่าใช้จ่าย ซึ่งไม่สามารถนำรายจ่ายอื่นๆ มาหักลบ

ผู้กู้ต้องไปติดต่อสถานศึกษาที่เคยยื่นกู้ให้ดำเนินการยกเลิกสัญญา 

  1. ขอแบบฟอร์มการยกเลิกสัญญา และแบบยืนยันการลงทะเบียน จากสถานศึกษา
  2. ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้กู้ยืม เซ็นชื่อในเอกสาร
  3. นำแบบฟอร์มการคืนเงินจากสถานศึกษาไปชำระเงินที่ธนาคารกรุงไทยเพื่อชำระยอดปิดบัญชี
  4. เขียนคำร้อง แจ้งรายละเอียดเหตุผลในการยกเลิกสถานะการกู้ยืม
    หมายเหตุ ส่งสำเนาใบเสร็จการชำระเงินพร้อมเอกสารข้างต้น  ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการภาครัฐ เบอร์แฟกซ์ 0 2256 8198 ยืนยันการส่งแฟกซ์ โทร. 0 2208 8699

สามารถทำได้ โดยแบ่งชำระให้แล้วเสร็จก่อนวันครบกำหนดชำระหนี้ประจำปี ที่ บมจ. ธนาคารกรุงไทย / ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ได้ทุกสาขา ซึ่งยอดที่แบ่งชำระรวมแล้วเงินต้นจะต้องไม่น้อยกว่ายอดที่กำหนดให้ในแต่ละปี

การเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนบุคคล (เปลี่ยนชื่อ นามสกุล ที่อยู่) ผู้กู้ยืมสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ด้วยตนเองผ่านแอปพลิเคชัน กยศ. Connect (ยกเว้น หมายเลขโทรศัพท์ที่ลงทะเบียนไว้ในแอปพลิเคชัน กยศ. Connect) หรือ ทำหนังสือแจ้งมายังกองทุนโดยใช้แบบฟอร์ม กยศ. 108

ผู้กู้ยืมจะต้องยกเลิกแบบคำขอกู้ยืมผ่านระบบออนไลน์ก่อน จึงจะยื่นขอกู้ยืมใหม่ได้  แต่ถ้าสถานศึกษานั้นๆ มีการบันทึกกรอบวงเงินและอนุมัติสัญญาแล้ว สถานศึกษาเก่าต้องยกเลิกสัญญากู้ยืมผ่านระบบ e-Studentloan  และส่งแบบยกเลิกสัญญาให้กับธนาคารในปีนั้นๆ  แล้ว จึงสามารถขอยื่นกู้ยืม ณ สถานศึกษาแห่งใหม่ โดยไม่เสียสิทธิการกู้ในปีนั้น

แนวทางการโอนเงินค่าเทอม-ค่าครองชีพ กยศ. ปีการศึกษา 1/2564

ในปีการศึกษา 2564 สถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีความรุนแรงมากขึ้น สถานศึกษาจึงเลื่อนการเปิดภาคเรียนและปรับรูปแบบการเรียนเป็นออนไลน์ กองทุนจึงได้ปรับกำหนดการให้สอดคล้องกับสถานศึกษา โดยขยายเวลาจากเดิมเดือนเมษายนเป็นเดือนมิถุนายน 2564 ทำให้กำหนดการโอนเงินกู้ยืมมีการปรับเลื่อนตามมา รวมถึงคณะรัฐมนตรีได้มีมติการปรับลดค่าเทอมให้แก่นักศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อช่วยลดภาระหนี้ให้แก่ผู้กู้ยืม ทำให้กองทุนต้องปรับกระบวนการกู้ยืมเงินในระบบ DSLของระดับอุดมศึกษา เพื่อให้รองรับการบันทึกค่าเล่าเรียนจริงที่ได้รับการปรับลดตามมติคณะรัฐมนตรีให้กับนักศึกษาผู้กู้ยืม ซึ่งแล้วเสร็จตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา 

1. การโอนเงินค่าเล่าเรียน และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา

กองทุนจะโอนเงินเข้าบัญชีของสถานศึกษา ภายหลังจากธนาคารได้รับสัญญากู้ยืมเงิน และหรือแบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืมว่าถูกต้องครบถ้วน ตรงกับข้อมูลที่ธนาคารได้รับจากระบบ DSL โดยจะโอนทุกวันที่ 5, 15 และ 25 ของเดือน

2. การโอนเงินค่าครองชีพเดือนที่ 1 ให้แก่ผู้กู้ยืม

กองทุนจะโอนเงินค่าครองชีพเดือนแรกให้แก่ผู้กู้ยืมภายใน 30 วัน นับจากวันที่สถานศึกษาทำการตรวจสอบยืนยันข้อมูลและแนบเอกสารการกู้ยืมของผู้กู้ยืมในระบบ DSL เรียบร้อยแล้วและสถานศึกษาจะต้องจัดส่งเอกสารการกู้ยืมที่ถูกต้องและครบถ้วนให้ธนาคารโดยเร็ว

หากธนาคารไม่ได้รับเอกสารการกู้ยืมดังกล่าวภายใน 30 วัน กองทุนจะหยุดการโอนเงินครองชีพของผู้กู้ยืมในเดือนที่ 2 เป็นต้นไป

3. กรณียังไม่ได้รับการโอนเงินค่าครองชีพเดือนที่ 2 และค่าเล่าเรียน เกิดจากสาเหตุ ดังนี้

        3.1 ธนาคารตรวจเอกสารการกู้ยืมแล้วพบว่าเอกสารไม่ถูกต้อง/ไม่ครบถ้วน เช่น ผู้กู้ยืมเงินลงลายมือชื่อแทนบิดา มารดา , แนบไฟล์ที่มีข้อความ/เนื้อหา ขาดหายบางส่วน ไม่ครบถ้วนตามฟอร์ม , พยานมิได้ลงนามในสัญญา เป็นต้น โดยทางธนาคารจะแจ้งข้อมูลกลับทางอีเมลไปยังสถานศึกษาให้ได้รับทราบ และสถานศึกษาจะต้องแจ้งให้ผู้กู้ยืมแก้ไขเอกสารให้ถูกต้องแล้วส่งให้ธนาคารโดยเร็ว เมื่อธนาคารตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของเอกสารเรียบร้อยแล้ว ผู้กู้ยืมจึงจะได้รับโอนเงินค่าครองชีพในเดือนที่ 2 เป็นต้นไป

        3.2 ธนาคารยังไม่ได้รับเอกสารการกู้ยืม หรืออยู่ระหว่างการตรวจเอกสารการกู้ยืม

        3.3 สถานศึกษายังมิได้จัดส่งเอกสารการกู้ยืมให้ธนาคาร

       

แนวปฏิบัติสำหรับผู้กู้ยืมที่ถูกดำเนินคดี

กรณีที่ 1 หากผู้กู้ยืมประสงค์ให้ถอนฟ้อง

ผู้กู้ยืมต้องชำระหนี้ปิดบัญชี พร้อมจ่ายค่าทนาย และส่งหลักฐานการชำระหนี้ปิดบัญชีให้กองทุนพิจารณาถอนฟ้อง

01.ชำระหนี้ปิดบัญชี พร้อมค่าทนาย ดังนี้

1. ชำระหนี้เงินกู้ยืมที่ธนาคารกรุงไทย หรือ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

2. ชำระค่าทนายความ 5,500 บาท ก่อนวันที่ศาลนัด 2 สัปดาห์ที่ธนาคารกรุงไทยเท่านั้น

โดยชำระผ่านระบบ Teller Payment  (กยศ. code : 9067)   (กรอ. code : 92707)

02.ส่งหลักฐานการชำระหนี้ปิดบัญชี พร้อมแจ้งชื่อและเบอร์ติดต่อกลับ ดังนี้

1. ใบเสร็จการชำระหนี้ปิดบัญชี กยศ. หรือ กรอ.

2. ใบเสร็จการชำระค่าทนายความ

“ผู้กู้ กยศ.” ส่งให้แก่ บริษัท กรุงไทยกฎหมาย จำกัด

               Fax: 0 2261 3811 โทรศัพท์ 0 2261 3739 ต่อ 8778

“ผู้กู้ กรอ.” ส่งให้แก่ ฝ่ายคดีและบังคับคดี กยศ. ระบุ “ขอให้ถอนฟ้อง กรอ. หรือผู้กู้ยืมกลุ่มไกล่เกลี่ย”

               Fax: 0 2016 4940 โทรศัพท์ 0 2016 4888 ต่อ 550 – 587

 

กรณีที่ 2 ผู้กู้ยืมที่ไม่สามารถชำระหนี้เพื่อถอนฟ้องได้ ผู้กู้และผู้ค้ำประกันทุกคนจะต้องไปศาล

01.เจรจาไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความในชั้นศาล กรณีที่ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันไปตามที่ศาลนัดหมาย สามารถขอผ่อนชำระหนี้รายเดือนให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 9 ปี

•กรณีบุคคลใดบุคคลหนี่งไม่สามารถไปศาลได้ให้ทำหนังสือมอบอำนาจ พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนและลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องให้บุคคลที่บรรลุ  นิติภาวะทำแทนได้

02.กรณีที่ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันไม่ไปตามที่ศาลนัด "ศาลจะสั่งพิพากษาชำระหนี้ทั้งจำนวน"

โดยจะส่งคำบังคับแจ้งให้ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นใน 30 วัน หลังจากได้รับคำสั่งศาล

กรณีที่ผู้กู้ยืมถึงแก่ความตายให้สัญญากู้ยืมเงิน หน้าที่ และความรับผิดชอบ ที่ผู้กู้ยืมเงินมีต่อกองทุนเป็นอันระงับไป โดยให้ญาติแจ้งธนาคารกรุงไทย/ธนาคารอิสลามฯ ทราบ โดยยื่นเอกสารหลักฐานเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ ดังนี้​
 
-  สำเนาใบมรณบัตรของผู้กู้ยืมเงิน
 
-  สำเนาทะเบียนบ้านของผู้กู้ยืมเงิน
 
-  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้กู้ยืม (ถ้ามี)
 
-  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง
 
* รายละเอียดเพิ่มเติม ...คลิก