Secondary

Languages

คำถามที่พบบ่อย

แนวปฏิบัติสำหรับผู้กู้ยืมที่ถูกดำเนินคดี

กรณีที่ 1 หากผู้กู้ยืมประสงค์ให้ถอนฟ้อง

ผู้กู้ยืมต้องชำระหนี้ปิดบัญชี พร้อมจ่ายค่าทนาย และส่งหลักฐานการชำระหนี้ปิดบัญชีให้กองทุนพิจารณาถอนฟ้อง

01.ชำระหนี้ปิดบัญชี พร้อมค่าทนาย ดังนี้

1. ชำระหนี้เงินกู้ยืมที่ธนาคารกรุงไทย หรือ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

2. ชำระค่าทนายความ 5,500 บาท ก่อนวันที่ศาลนัด 2 สัปดาห์ที่ธนาคารกรุงไทยเท่านั้น

โดยชำระผ่านระบบ Teller Payment  (กยศ. code : 9067)   (กรอ. code : 92707)

02.ส่งหลักฐานการชำระหนี้ปิดบัญชี พร้อมแจ้งชื่อและเบอร์ติดต่อกลับ ดังนี้

1. ใบเสร็จการชำระหนี้ปิดบัญชี กยศ. หรือ กรอ.

2. ใบเสร็จการชำระค่าทนายความ

“ผู้กู้ กยศ.” ส่งให้แก่ บริษัท กรุงไทยกฎหมาย จำกัด

               Fax: 0 2261 3811 โทรศัพท์ 0 2261 3739 ต่อ 8778

“ผู้กู้ กรอ.” ส่งให้แก่ ฝ่ายคดีและบังคับคดี กยศ. ระบุ “ขอให้ถอนฟ้อง กรอ. หรือผู้กู้ยืมกลุ่มไกล่เกลี่ย”

               Fax: 0 2016 4940 โทรศัพท์ 0 2016 4888 ต่อ 550 – 587

 

กรณีที่ 2 ผู้กู้ยืมที่ไม่สามารถชำระหนี้เพื่อถอนฟ้องได้ ผู้กู้และผู้ค้ำประกันทุกคนจะต้องไปศาล

01.เจรจาไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความในชั้นศาล กรณีที่ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันไปตามที่ศาลนัดหมาย สามารถขอผ่อนชำระหนี้รายเดือนให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 9 ปี

•กรณีบุคคลใดบุคคลหนี่งไม่สามารถไปศาลได้ให้ทำหนังสือมอบอำนาจ พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนและลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องให้บุคคลที่บรรลุ  นิติภาวะทำแทนได้

02.กรณีที่ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันไม่ไปตามที่ศาลนัด "ศาลจะสั่งพิพากษาชำระหนี้ทั้งจำนวน"

โดยจะส่งคำบังคับแจ้งให้ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นใน 30 วัน หลังจากได้รับคำสั่งศาล

จำนวนเงินดอกเบี้ยที่ปรากฏตามตาราง ได้คำนวณยอดไว้เป็นรายปี โดยนับจากวันที่ 5 ก.ค เป็นหลัก ดังนั้น หากการชำระหนี้ ที่ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ 5 ก.ค หรือชำระหนี้หลังวันที่ 5 ก.ค. ของแต่ละปี ยอดดอกเบี้ยที่ต้องชำระจริงจะเปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนวันที่มาชำระหนี้
ซึ่งมีวิธีการคำนวณดอกเบี้ย ดังนี้

วิธีคำนวณดอกเบี้ย ยอดหนี้คงเหลือ X 1% (อัตราดอกเบี้ย) หาร 365 วัน **เท่ากับอัตราดอกเบี้ยจะเดินเป็นรายวันจนกว่าเงินต้นจะหมด
หมายเหตุ การชำระหนี้ก่อนกำหนดจะไม่สามารถยึดการผ่อนจ่ายตามตารางได้ เนื่องจากในการคำนวณหนี้ในตารางได้กำหนดวันจ่ายที่ 5 ก.ค ของทุกปี และได้มีการคิดนวณดอกเบี้ยเรียบร้อยแล้วทุกปี กรณีที่ผู้กู้จ่ายก่อนจะทำให้มีดอกเบี้ยที่เกินขึ้นน้อยกว่าในตาราง ให้ผู้จ่ายยอดตามหน้าระบบแทน 

กรณีที่ผู้กู้ยืมถึงแก่ความตายให้สัญญากู้ยืมเงิน หน้าที่ และความรับผิดชอบ ที่ผู้กู้ยืมเงินมีต่อกองทุนเป็นอันระงับไป โดยให้ญาติยื่นเอกสารหลักฐานเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ ดังนี้​
 
-  สำเนาใบมรณบัตรของผู้กู้ยืมเงิน
 
-  สำเนาทะเบียนบ้านของผู้กู้ยืมเงิน
 
-  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้กู้ยืม (ถ้ามี)
 
-  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง
 
* รายละเอียดเพิ่มเติม ...คลิก  

กองทุนมีวิธีการคำนวณยอดแจ้งหักเงินเดือน ดังนี้ 

สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่มีงวดการชำระเป็นรายปี 

สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่มีงวดการชำระเป็นรายปีกองทุนจะนำงวดชำระรายปี มาคำนวณใหม่ให้เป็นรายเดือน โดยนำยอดหนี้ที่ต้องชำระในงวดปีถัดไปมาหาร 12 เดือน หรือจำนวนเดือนที่เหลือก่อนถึงวันครบกำหนดชำระในงวดถัดไป เช่น การหักเงินเดือนเพื่อชำระหนี้ในงวดวันที่ 5 กรกฎาคม ของทุกปี กองทุนจะแจ้งหักเงินเดือนโดยใช้ยอดหนี้ตามตารางผ่อนชำระรายปีงวด 2567 หารด้วยจำนวนเดือน (12 เดือน) ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปีปัจจุบัน จนถึงเดือนมิถุนายนของปีถัดไป และในงวดปีถัดไปจะเริ่มหักเงินเดือนตั้งแต่เดือนกรกฎาคมของทุกปีจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น

สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่มีงวดการชำระเป็นรายเดือน 

ตามที่ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความก่อนฟ้องคดี หรือสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล กองทุนจะแจ้งหักเงินดือนตามจำนวนที่ได้ตกลงไว้ทุกเดือน จนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น

สามารถทำได้ โดยจำนวนเงินที่เกินยอดหนี้ที่ต้องชำระในแต่ละงวด ระบบจะนำไปลดยอดเงินต้น แต่ไม่ได้นำไปลดยอดเงินที่ต้องชำระในงวดต่อไป กล่าวคือ ผู้กู้ยืมยังคงมีหน้าที่ต้องชำระเงินในงวดต่อไปเต็มตามจำนวนที่กำหนดในตารางผ่อนชำระหนี้ แต่เงินจำนวนดังกล่าวจะถูกนำไปลดยอดเงินต้นในงวดสุดท้ายที่ผู้กู้ยืมจะต้องชำระ

ให้พนักงานหรือลูกจ้างติดต่อกองทุนโดยตรง ผ่านช่องทางการติดต่อขององค์กรนายจ้างเบอร์โทรศัพท์ 02 080 5099 หรือไลน์บัญชีทางการ กยศ.หักเงินเดือน หรืออีเมล [email protected] เพื่อให้เจ้าหน้าที่แจ้งรายละเอียดแก่ผู้กู้ยืมเงินในการเข้าสู่ระบบการหักเงินเดือนผ่านองค์กรนายจ้าง

 

ผู้กู้ยืมไม่มีเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษาครั้งเดียวได้ ประสงค์จะผ่อนชำระ สามารถทำได้ตามความประสงค์ ในระหว่างที่กองทุนฯ ยังไม่ได้ดำเนินการบังคับคดี  แต่หากกองทุนดำเนินการบังคับคดีตามกระบวนการทางกฎหมาย ผู้กู้ยืมต้องรับสภาพการบังคับคดีนั้นตามจำนวนหนี้ในคำพิพากษา

 ไม่สามารถดำเนินการได้ ผู้กู้ยืมจะต้องยื่นขอกู้ยืมเงินผ่านระบบ DSL ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 เป็นต้นไป

  1. กองทุนส่งหนังสือบอกเลิกสัญญากู้ยืม ให้ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันทราบ  และขอให้มีการชำระหนี้ หากผู้กู้ยืมไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดอาจถูกดำเนินคดี
  2. บมจ.ธนาคารกรุงไทย ดำเนินการฟ้องคดีกับผู้กู้ยืม และผู้ค้ำประกันตามสัญญากู้ยืมเงิน (ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันจะได้รับหมายศาล)
  3. เมื่อศาลมีหมายนัด ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันต้องไปตามนัด โดยในวันนัดจะมีการไกล่เกลี่ยประนีประนอม
  4. ศาลพิพากษา  เมื่อศาลมีคำพิพากษา ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้น

หากยังไม่มีการชำระหนี้ตามคำพิพากษา  กองทุนจะส่งคำบังคับให้ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน  และจะทำการยึดทรัพย์ตามกฎหมายต่อไป

ไม่ต้องใช้หนังสือรับรองรายได้ หนังสือรับรองรายได้ จะใช้ในกรณีที่ไม่มีหนังสือรับรองเงินเดือนจากต้นสังกัด

  • การขอผ่อนผันการชำระหนี้สามารถทำได้แต่จะต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ที่ทางกองทุนฯ กำหนด

รายละเอียดการผ่อนผันการชำระหนี้ https://www.studentloan.or.th/th/highlight/1548649297

ผู้กู้ยืมที่หยุดกู้ยืม แต่ยังคงศึกษาอยู่ จะต้องแจ้งสถานภาพการเป็นนักศึกษา ให้กองทุนทราบทุกปีจนกว่าจะจบการศึกษา ซึ่งหากไม่รายงานสถานภาพการศึกษาต่อกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจะถือว่าผู้กู้ยืมเงินได้สำเร็จการศึกษาหรือเลิกศึกษาแล้ว และจะต้องเริ่มต้นชำระหนี้งวดแรกนับแต่วันที่สำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษาตามระเบียบ หลักเกณฑ์ ที่กองทุนกำหนด
 

 ผู้กู้ยืมเงินสามารถตรวจสอบผลการชำระเงินได้ประมาณ 10 วันทำการ นับตั้งแต่หน่วยงาน (นายจ้าง)

ชำระเงินผ่านช่องทาง ดังนี้

1. ผ่านช่องทาง Mobile Application "กยศ. Connect" ได้ทั้งระบบปฎิบัติการ iOS และ Android

2. ผ่านทางเว็บไซต์  https://wsa.dsl.studentloan.or.th

นักเรียน นักศึกษาต้องตรวจสอบสถานะการกู้ยืมของตนเองก่อน ซึ่งหากสถานศึกษาเดิมยังไม่ได้ดำเนินการขั้นตอนต่างๆในระบบ นักเรียน นักศึกษาสามารถยกเลิกได้ด้วยตนเอง แต่หากได้ดำเนินการแล้วให้เร่งแจ้งกับสถานศึกษายกเลิกการกู้ยืมเงินของตนเองโดยเร็ว เพื่อที่จะสามารถยื่นขอกู้ยืมเงินกับสถานศึกษาใหม่ ได้ภายในระยะเวลาที่กองทุนกำหนด 

กรณีที่ผู้กู้ยืมเงินมียอดค้างชำระ ผู้กู้ยืมเงินมีหน้าที่ต้องชำระยอดค้างด้วยตนเอง เนื่องจากกองทุนอาจนำเงินที่ค้างชำระมารวมเพื่อแจ้งให้นายจ้างหักเงินเดือน