การขอผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุนสำหรับผู้กู้ยืมที่ครบกำหนดชำระหนี้ ดังนี้
เป็นผู้ครบกำหนดชำระหนี้ และไม่เป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน (หากเคยผิดนัดชำระหนี้มาก่อน จะต้องชำระหนี้ให้เป็นปกติก่อนยื่นขอผ่อนผัน และรักษาสถานะการชำระหนี้ที่เป็นปกติไว้จนกระทั่งได้รับการพิจารณาให้ได้รับสิทธิในการผ่อนผัน)
1. เป็นผู้ไม่มีรายได้
- การขอผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุน ข้อ 1 เป็นผู้ไม่มีรายได้ ...คลิก
2. เป็นผู้มีรายได้ไม่เกินเดือนละ 8,008 บาท
- การขอผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุน ข้อ 2 มีรายได้ไม่เกิน 8,008 บาท ต่อเดือน...คลิก
3. กรณีผู้กู้ยืมเป็นผู้ประสบภัยพิบัติ ซึ่งทรัพย์สินได้รับความเสียหายรุนแรง จากอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นๆ รวมถึงภัยจากสงครามหรือจลาจล ทั้งนี้ ผู้ประสบภัยพิบัติสาธารณภัยต้องเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นตามที่กำหนดเขตประสบภัยพิบัติจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยหรือจังหวัด และมีหลักฐานที่รับรองว่าเป็นผู้ประสบภัยจริงภายใน 1 ปีนับจากวันที่ประสบภัยพิบัติ และทรัพย์สินได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง ซึ่งต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐ
สำหรับกรณีที่ 1 2 และ 3 สามารถขอผ่อนผันได้ไม่เกิน 2 คราวๆละไม่เกิน 1 ปี รวมระยะเวลาแล้วไม่เกิน 2 ปี โดยช่วงเวลาที่ได้รับการผ่อนผัน ผู้กู้ยืมไม่ต้องชำระหนี้ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย โดยกองทุนจะยกเว้นเบี้ยปรับหรือค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ได้รับการผ่อนผัน
- การขอผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุน ข้อ 3.ประสบภัยพิบัติจากอัคคีภัย อุทกภัย วาตภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นๆ รวมถึงภัยจากสงครามหรือจลาจล ซึ่งทรัพย์สินได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง รายละเอียดเพิ่มเติม...คลิก
4. กรณีเป็นผู้มีรายได้ถดถอย ต้องเป็นผู้ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย หักเงินเข้ากองทุนที่ผู้กู้ยืมเงินต้องถูกหักตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และเมื่อหักจำนวนเงินงวดที่ครบกำหนดชำระคืนกองทุนในปีนั้นมาเฉลี่ยเป็นรายเดือน แล้วมีเงินเหลือไม่เกินเดือนละ 2,500 บาท
- การขอผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุน ข้อ 4. ผู้ที่มีรายได้ถดถอย รายละเอียดเพิ่มเติม...คลิก
5. กรณีเป็นผู้กู้ยืมเงินที่มีความจำเป็นต้องดูแลบุคคลในครอบครัวซึ่งชราภาพ ป่วย หรือพิการ ต้องเป็นผู้มีรายได้คงเหลือหลังจากการหักค่าใช้จ่ายที่ใช้ดูแลบุคคลในครอบครัว ซึ่งชราภาพ ป่วย หรือพิการแล้ว เหลือไม่เกิน 8,008 บาทต่อเดือน กรณีชราภาพ ได้แก่ บิดา มารดา อายุตั้งแต่ 70 ปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้ กรณีป่วย ได้แก่ บิดา มารดา คู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย และผู้สืบสันดาน ซึ่งป่วยเป็นโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรงจนไม่สามารถประกอบการงานได้ ทั้งนี้ ให้ใช้หลักเกณฑ์เกี่ยวกับผู้กู้ยืมซึ่งป่วยเป็นโรคเรื้อรังดังกล่าวตามประกาศที่กองทุนกำหนด และพิการหรือทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบการงานได้ ทั้งนี้ ให้ใช้หลักเกณฑ์เกี่ยวกับผู้กู้ยืมพิการหรือทุพพลภาพตามประกาศที่กองทุนกำหนด
- การขอผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุน ข้อ 5.ผู้ที่มีความจำเป็นต้องดูแลบุคคลในครอบครัว ซึ่งชราภาพ ป่วย หรือพิการ...คลิก
สำหรับกรณีที่ 4 และ 5 ให้ผู้กู้ยืมทำบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญากู้ยืมเงินกับกองทุนและถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้ยืมเงิน ซึ่งในบันทึกข้อตกลงนั้นต้องมีลายมือชื่อผู้ค้ำประกันให้ความยินยอมให้ผ่อนผันด้วย โดยผู้กู้ยืมเงินยอมรับเงื่อนไขใหม่ในการชำระเงินคืนกองทุน ดังนี้
- กยศ./กรอ. 202/62 แบบคำขอผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุน และกยศ./กรอ. 203/62 หนังสือรับรองผู้กู้ยืมเงิน..คลิก
- บันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญากู้ยืมเงิน ผู้มีรายได้ถดถอย หรือมีความจำเป็นต้องดูแลบุคคลในครอบครัว ซึ่งชราภาพ ป่วย หรือพิการ...คลิก
วิธีการ : ยื่นคำขอผ่อนผันและเอกสารหลักฐานไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนครบกำหนดชำระหนี้
สถานที่ติดต่อ
- ผู้กู้ยืมเงินยื่นเอกสารขอผ่อนผันด้วยตนเองที่สำนักงานกองทุน
- ส่งเอกสารทางไปรษณีย์มายัง กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เลขที่ 89 อาคาร เอไอเอ แคปปิตอล เซ็นเตอร์ ชั้น 5-6 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กทม. 10400
ระเบียบ/ประกาศ
-
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุน ลดหย่อนหนี้ หรือระงับการเรียกให้ชำระหนี้ พ.ศ. 2561 ...คลิก
-
ประกาศกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์พิจารณาการผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุน กรณีเป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือเป็นผู้มีรายได้ไม่เกินแปดพันแปดบาทต่อเดือน...คลิก
-
ประกาศกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์พิจารณาความเสียหายของทรัพย์สินอย่างรุนแรงกรณีเป็นผู้ประสบภัยพิบัติ หรือการเป็นผู้มีรายได้ถดถอย หรือมีความจำเป็นต้องดูแลบุคคลในครอบครัว ซึ่งชราภาพ ป่วยหรือพิการ เพื่อขอผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุน ...คลิก