Secondary

Languages

อำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

อำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๖

      กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มีหน้าที่และวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาด้วยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาในลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  1. นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์
  2. นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลัก ซึ่งมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนและมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
  3. นักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนหรือสาขาวิชาที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ
  4. นักเรียนหรือนักศึกษาที่เรียนดีเพื่อสร้างความเป็นเลิศ

 

อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 9

      กองทุนมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ดังนี้

1. ซื้อ จัดหา เช่า ให้เช่า ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครอง จำหน่าย ทำนิติกรรม หรือดำเนินงานใด ๆ เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์

2. จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ เก็บรักษาหลักฐานและเอกสารเกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา

3. จัดหาผลประโยชน์จากเงินและทรัพย์สินของกองทุน

4. กระทำการอื่นใดบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการจัดการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

 

อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 45

       กองทุนมีอำนาจดำเนินการในการติดตามการชำระเงินคืน ดังต่อไปนี้

1.ขอข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กู้ยืมเงินจากหน่วยงานหรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนหรือบุคคลใดซึ่งเป็นผู้ครอบครองข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว

2.เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน และการชำระเงินคืนกองทุนของผู้กู้ยืมเงินให้แก่หน่วยงานหรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน หรือบุคคลใดตามที่ร้องขอ

3.มีอำนาจในการกำหนดมาตรการตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารกองทุนและการติดตามการชำระเงินคืนกองทุน

 

อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 51

  • กองทุนมีอำนาจหักเงินได้พึงประเมินของผู้กู้ยืมเงินซึ่งเป็นพนักงานหรือลูกจ้าง (เฉพาะมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ เงินเดือน/ค่าจ้าง ตามการจ้างแรงงาน) โดยให้บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคลทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่หักเงินได้พึงประเมินของผู้กู้ยืมเงินเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนตามจำนวนที่กองทุนฯแจ้งให้ทราบ นำส่งกรมสรรพากรภายในกำหนดระยะเวลาการนำส่งภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย