Secondary

Languages

การสร้างจิตสำนึกให้กับผู้กู้ยืมเงิน

การสร้างจิตสำนึกให้กับผู้กู้ยืมเงิน

          ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดให้มีการส่งเสริมผู้กู้ยืมเงิน ทั้งก่อนการให้กู้ยืม ระหว่างกำลังศึกษา และเมื่อจบการศึกษา ในลักษณะหรือในโอกาสต่างๆ เช่น จัดประชุมผู้กู้ยืมเงินและ/หรือผู้ปกครอง และ/หรือ ผู้ค้ำประกัน เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวัตถุประสงค์และกฎหมายที่เกี่ยวกับกองทุน หรือจัดให้มีกิจกรรมกระตุ้นการชำระหนี้เพื่อปลูกจิตสำนึกผู้กู้ยืมเงินในการชำระหนี้คืนกองทุน เป็นต้น

การสร้างจิตสำนึกให้กับผู้กู้ยืมเงิน
ก่อนการให้กู้ยืม
1) การคัดกรองผู้กู้ยืม ต้องเน้นคุณสมบัติผู้กู้ยืมตามที่กองทุนกำหนด
2) การให้ความรู้และความเข้าใจกับผู้ปกครองและผู้กู้ยืมเกี่ยวกับ
  - แหล่งที่มาของเงินให้กู้ยืม
- คุณค่าของเงินกู้ยืม
- หน้าที่และความรับผิดชอบในการชำระคืนเงินกู้ยืม
- ผลของการไม่ชำระคืนเงินกู้ยืม
  
ระหว่างกำลังศึกษา
1) สร้างจิตสำนึกให้ผู้กู้ยืมตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม โดย
  - การใช้เงินกู้ยืมอย่างรู้คุณค่า
- ให้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน
- การสนับสนุนให้ผู้ยืมทำประโยชน์ เช่น จิตสาธารณะในการทำประโยชน์เพื่อสังคมส่วนรวม เป็นต้น
  
เมื่อจบการศึกษา
2) ก่อนจบการศึกษา ควรเน้นย้ำผู้กู้ยืม ดังนี้
- หน้าที่ของผู้กู้ยืมที่ต้องชำระคืนเงินกู้ยืม เมื่อจบการศึกษาศึกษา/เลิกการศึกษาแล้ว 2 ปี
- ความรับผิดชอบทางการเงินของผู้กู้ยืมในการชำระคืนเงินกู้ยืม เพื่อส่งต่อโอกาสให้กับผู้กู้ยืม กยศ.
  ในรุ่นต่อๆ ไป
- การวางแผนทางการเงิน เพื่อให้ผู้กู้ยืมวางแผนการใช้เงินและวางแผนการชำระหนี้ กยศ. ได้อย่างเป็นรูปธรรม